LEADER 00000nam a2200000Ia 4500 |
001 13399125653 |
003 BCNR |
008 970114s2536 th m 000 0 tha d |
020 ^a9745877387
|
090 ^aว.14^bก427ค 2536 (สันสีเหลือง)
|
100 0 ^aกาญจนา ศิริวราศัย
|
245 10 ^aความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวความหวังกับการปรับตัวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก =^bThe relationship between family relationship,hope and adaptation in hemiplegic patients /^cการญจนาศิริวราศัย
|
246 31 ^aRelationship between family relationship, hope andadaptation in hemiplegic patients
|
260 ^a^c2536, [1993]
|
300 ^aก-ช, 113 แผ่น ;^c30 ซม.
|
500 ^aทุน CMB คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พยาบาลศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536
|
520 ^aอาการอัมพาตครึ่งซีก ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะ ที่พบได้มากที่สุดของโรคระบบประสาท ซึ่งสามารถรักษาได้เพียง การประคับประคองผู้ป่วยต้องมารับ การบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับความทุกข์ทรมาน จากความพิการ และสามารถช่วยตนเองได้บ้างแทนการพึ่งพาผู้อื่นมากเกินไป ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านจิตสังคมตามมา ผู้ป่วยจะเกิดความเครียด ในการเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทำให้ต้องมีการช่วยเหลือ เพื่อการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ ได้อย่างปกติสุข ในการดูแลผู้ป่วยพยาบาลจำเป็นต้องทราบถึง ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการปรับตัว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม ให้ผู้ป่วยปรับตัว ได้อย่างเหมาะสม และดำรงชีวิตด้วยความผาสุก ผู้วิจัยจึงสนใจ ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว และความหวัง กับการปรับตัว ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก โดยศึกษาในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมและเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราชโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลประสาท จำนวน100 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัวแบบสอบถามสัมพันธภาพ ในครอบครัว แบบสอบถาม ความหวัง และแบบสอบถามการปรับตัว วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม SPSS-X หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สันค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ และเลือกตัวทำนาย ที่ดีที่สุด โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
|
520 ^a1. สัมพันธภาพ ในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปรับตัวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r equals.7190) 2. ความหวัง มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปรับตัวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r equals.6884) 3. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน พบว่าสัมพันธภาพในครอบครัว ความหวัง และระดับการศึกษา เป็นกลุ่มตัวทำนาย ที่ดีที่สุดโดยสามารถอธิบาย ความผันแปร ของการปรับตัว ได้ร้อยละ 61.00อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จากผลการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือ ในการดูแล ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกนั้นพยาบาลควรเป็นสื่อกลาง ในการแนะนำครอบครัว ให้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ มีสัมพันธภาพ ในครอบครัวที่ดีรวมทั้งควรหาแนวทาง ในการส่งเสริม ความหวัง ของผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย มีการปรับตัว ที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป ได้อย่างปกติสุข
|
610 24 ^aมหาวิทยาลัยมหิดล^xวิทยานิพนธ์
|
610 24 ^aมหาวิทยาลัยมหิดล.^bคณะพยาบาลศาสตร์^xวิทยานิพนธ์
|
650 4 ^aการปรับตัวทางจิต
|
650 4 ^aการปรับตัวทางสรีรภาพ
|
650 4 ^aความสัมพันธ์ในครอบครัว
|
650 4 ^aอัมพาตครึ่งซีก
|
650 4 ^aอัมพาตครึ่งซีก^xการรักษา
|
691 ^aวท.ม. (2536)
|
692 ^aพยาบาลศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2536)
|
700 0 ^aฟาริดา อิบราฮิม,^eที่ปรึกษา
|
700 0 ^aทัศนา บุญทอง,^eที่ปรึกษา
|
700 0 ^aวรรณี สัตยวิวัฒน์,^eที่ปรึกษา
|
710 2 ^aมหาวิทยาลัยมหิดล
|
710 2 ^aมหาวิทยาลัยมหิดล.^bคณะพยาบาลศาสตร์
|
999 ^aบรรณารักษ์
|